<<<<<>>>>>

หลวงปู่ทวด วัดช้างให้
Custom Search

หลวงปู่ทวด

23.8.52

วิวัฒนาการของการจำแนกพิมพ์

วิวัฒนาการของการจำแนกพิมพ์

ยุคที่ 1 ยุคโบราณจากบันทึกของศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดย์
กล่าวไว้ว่า “พระพิมพ์ที่พบในพระราชอาณาจักรสยาม อาจแบ่งออกได้เป็นหลายหมวดด้วยกัน ตามที่สืบสวนได้จากพระราชพงศาวดารสยามดังนี้”
หมวดที่ 1 แบบพระปฐม
ราวๆ พ.ศ. 950-1250
หมวดที่ 2 แบบถ้ำแหลมมลายู
ราวๆ พ.ศ. 1450-1550
หมวดที่ 3 แบบขอม
จะสมัยเดียวกันกับถ้ำมลายูหรือใหม่กว่าสักเล็กน้อย
หมวดที่ 4 แบบสุโขทัย
ราวๆ พ.ศ. 1750-1950 โดยมากเป็นพระพุทธรูปเดินหรือที่เรียกกันว่า พระลีลา
หมวดที่ 5 แบบอยุธยา
หลัง 1950 เป็นแบบที่ทำขึ้นใหม่ ตามธรรมดามักเป็นรูปพระพุทธเจ้ามีท่าตามปางต่างๆ อยู่ภายในซุ้มเล็กๆชนิดหนึ่งเรียกกันว่า “เรือนแก้ว”
หมวดที่ 6 พระเครื่องต่างๆ ซึ่งแบ่งเป็น 6 แบบ
พระพิมพ์แบบพระปฐม แบ่งได้เป็น 2 ชนิด พิจารณาตามสมัยทั้ง 2 ชนิดนี้เก่ามากเป็นฝีมือช่างช่าวอินเดียวในรัชสมัยพระเจ้าคุปตะ (ราว พ.ศ. 900-1200) ซึ่งพบมากในถ้ำ
พระพิมพ์แบบถ้ำแหลมมลายู เป็นพระพิมพ์ต่างๆที่พบได้เป็นจำนวนมากตามถ้ำทั้งหลายในแหลมมลายู พระพิมพ์เหล่านี้เป็นดินดิบหรือดินเหนียวสุก
พระพิมพ์ของแหลมมลายูบางชนิดลักษณะเหมือนกับรูปสลักที่สร้างขึ้นในเมืองระหว่างอินเดียกับชวา เพราะอาณาจักรศรีวิชัยซึ่งมีราชธานีอยู่ที่เมืองปาเลบังในเกาะสุมาตรานั้น เมื่อ พ.ศ.1150-1750 ได้แผ่อาณาเขตไปถึงฝั่งบนแหลมมลายูและทางทิศเหนือจนถึงเมืองไชยา รูปพระโพธิสัตว์อันสวยงามซึ่ง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้พบที่เมืองไชยานั้นเป็นฝีมือช่างอันวิจิตรของอาณาจักรศรีวิชัย และพระพิมพ์แบบที่ 2 นี้ จัดว่าเป็นฝีมืออย่างดีที่สุดของอาณาจักรนั้นเป็นส่วนมากเหมือนกัน
พระพิมพ์แบบขอม เครื่องแต่งกายและรูปพรรณมีลักษณะ คล้ายกับรูปสลักของขอมโบราณมักพบเห็นกันมากตัวอย่างเช่น พระพิมพ์ในสมัยลพบุรี ผู้ที่ได้เห็นรูปสลักโบราณ หรือจารึกของขอมแล้ว ย่อมจะทราบได้ดีทีเดียวว่า พระพิมพ์นี้มีรูปสลัก 3 องค์ประกอบกัน คือ พระพุทธเจ้าประทับนั่งบนนาค 1 องค์ เทวดาสี่หน้า 1 องค์ สตรี 1 องค์ พระเครื่องศิลปลพบุรีนี้จะพบได้ตามจารึกในพุทธศาสนาของขอมโบราณเป็นส่วนมาก
พระพิมพ์แบบสุโขทัย โดยมากเป็นพระปางลีลา ซึ่งไม่ใช่เฉพาะแต่พิมพ์เท่านั้น แม้พระพุทธรูปหล่อ และรูปแกะสลักอื่นๆ ก็เป็นพระสีลาเช่นกัน
ความนิยมของช่างไทยในการทำรูปของพระพุทธเจ้าปางลีลา หรือเดินนั้น เห็นจะไม่ใช่เหตุบังเอิญ คือในช่วงปี 1750-1850 อาณาจักรไทยเป็นชาติที่กำลังขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวาง โดยได้ปราบปรามประเทศที่อยู่ในดินแดนระหว่างอินเดียกับจีนตอนกลางให้อยู่ในอำนาจเป็นประเทศราช ในสมัยสุโขทัยไทยได้ขับไล่พวกขอมออกไปจากลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งได้นำพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่ในประเทศเหล่านั้น เช่นเดียวกับไทยที่เชียงแสนและเชียงราย ก็ได้ขับไล่พวกมอญออกไปจากลุ่มแม่น้ำปิง อาณาจักรสุโขทัยรัชสมัยพระเจ้ารามคำแหงมหาราช และผู้สืบสันตติวงศ์ต่อจากพระองค์ได้สร้างพระพุทธรูปลีลาขึ้นเป็นจำนวนมากมายเกินที่จะนับ เช่นเดียวกับพระเจ้ามังรายมหาราชซึ่งมีชัยชนะพระเจ้ามอญที่เมืองลำพูนแล้ว และสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้น ก็ได้ทรงหล่อรูปพระลีลาขึ้นมากเช่นกัน
พระพิมพ์ต่อจากสมัยอยุธยาลงมานั้น คือพระพิมพ์ที่สร้างขึ้นภายหลัง พ.ศ.1950 พระพิมพ์รุ่นนี้ นับว่ามีคุณค่าไม่น้อยกว่าพระพิมพ์รุ่นก่อนๆ เนื่องจากเป็นของที่มีคุณค่าทางวิชาช่างเป็นอย่างมาก พุทธลักษณะเป็นพระทรงเครื่องอยู่ภายใต้ซุ้มเรือนแก้ว ซึ่งหมายถึงองค์พระพุทธเจ้าตามปางต่างๆ คือ นั่งบ้าง ยืนบ้าง เดินบ้าง นอนบ้าง โดยมากมักจะทำด้วยดิน ลงรักปิดทอง
พระพิมพ์ขนาดเล็ก ยังมีพระพิมพ์อีกชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็ก ซึ่งอยู่ในประเภทพระเครื่องสมัยของพระพิมพ์ชนิดนี้เป็นการยากที่จะกำหนดให้แน่นอนลงได้

ยุคที่ 2 ยุคเก่า เป็นช่วงเวลาต่อจากยุคโบราณที่เริ่มมีการแบ่งกลุ่มประเภทพระ จากประสบการณ์ในกรรมวิธีสร้างพระเครื่อง
ทำให้สามารถแยกพระเครื่องหรือพระพิมพ์ออกไปได้หลายลักษณะด้วยกัน ซึ่งสามารถสรุปการจำแนกเป็น 2 แนวทางด้วยกันคือ
1. การจำแนกตามประเภทวิธีช่าง ซึ่งสามารถพิจารณาได้ 3 ลักษณะ ดังนี้
1.1 แบ่งจากลักษณะการสร้าง จำแนกออกไปได้เป็น 3 ประเภท
พระพิมพ์แบบอัด
พระพิมพ์แบบหล่อ
พระพิมพ์แบบปั๊ม
1.2 แบ่งจากลักษณะความหนาของส่วนโค้งนูน
ปฏิมากรรมแบบแบนนูนสูง
ปฏิมากรรมแบบแบนกึ่งนูนสูง
ปฏิมากรรมแบบแบนนูนต่ำ
1.3 แบ่งลักษณะเนื้อวัสดุ จำแนกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
พระพิมพ์เนื้ออโลหะ
พระพิมพ์เนื้อโลหะ
2. การจำแนกตามประเภทคุณวิเศษ สามารถพิจารณาได้ 2 ลักษณะคือ
2.1 ประเภทคุณวิเศษโดยทั่วไป จำแนกได้ 3 กลุ่ม คือ
พระเครื่องฯ ประเภทมหานิยม
พระเครื่องฯ ประเภทมหาอุตม์
พระเครื่องฯ ประเภทนิรันตราย
2.2 ประเภทคุณวิเศษทางเนื้อวัตถุ แบ่งตามลักษณะวัสดุที่สร้าง เป็น 3 กลุ่มคือ
พระเครื่องฯ เนื้อโลหะ
พระเครื่องฯ เนื้อดินเผา
พระเครื่องฯ เนื้อปูนปั้น

ยุคที่ 3 ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 การจำแนกพระในช่วงแรกของยุคหลัง ช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นต้นมา
ยังคงเน้นในทางคุณวิเศษทางพุทธคุณ ที่หลายคนอาจจะเคยได้ยินได้ฟังกันมาบ้างถึงวิถีแนวทางของนักเล่นพระ หรือ นักเลงพระรุ่นนี้ ซึ่งจำแนกพระออกเป็น พระดีทางคงพระพัน พระดีทางนิรันตราย พระดีทางเมตตามหานิยม พระดีทางแคล้วคลาด ฯลฯ จนเกิดเป็นพุทธาคมที่เด่นของพระเครื่องมากมายสืบทอดมาจนทุกวันนี้โดยไม่สนใจในองค์ประกอบอื่นใดเลยในการจำแนก

ยุคที่ 4 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
การสะสมพระได้ขยายตัวขึ้นมาก และเริ่มมีผู้รู้ผู้ชำนาญการเขียนตำราการศึกษษพระเครื่องขึ้นมา จึงทำให้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง อาจารย์ตรี ยัยปวาย เป็นผู้มีส่วนสำคัญท่านหนึ่งซึ่งทำให้เกิดแนวคิดนี้ขึ้น
อาจารย์ตรี ยัมปวาย เป็นนักสะสมพระรุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่มีกลุ่มนักสะสมด้วยกันเป็นกลุ่มใหญ่ ซึ่งล้วนเป็นปรมาจารย์ของวงการพระในปัจจุบันทั้งสิ้น และท่านยังเป็นผู้กำหนดการจัดกลุ่มพระชุดเบญจภาคีขึ้นเป็นครั้งแรก โดยพิจารณาจากคุณค่า รูปทรง ขนาดของพระเครื่องที่จะจัดขึ้นสร้อยไว้คล้องคอ เพื่อให้ดูสวยงามและเหมาะสม ทั้งค่านิยม ความเก่าและคุณวิเศษ
จากจุดเริ่มที่มีการจัดพระชุดเบญจภาคีนี้เอง ก็เริ่มมีการจำแนกประเภทพระในหมู่นักสะสมยุคนั้น ตามวัตถุดิบที่นำมาจัดสร้างพระ ดังนี้
1.พระชุดเบญจภาคี
2.พระชุดเนื้อดิน
3.พระชุดเนื้อชิน
4.พระชุดเนื้อผง
5.พระชุดเนื้อโลหะ
6.พระปิดตา
7.พระประเภทเหรียญ
8.เครื่องรางของขลัง
จนถึงช่วงปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมาก็ได้มีการจำแนกพระเครื่องเพิ่มเติมและชัดเจนขึ้น โดยเติมพระกริ่งและรูปหล่อขึ้น หลังจากนั้นก็มีการเพิ่ม พระชุดหลวงปู่ทวดเข้ามา
ยุคปัจจุบันการจำแนกพระออกเป็นหมวดหมู่ยังคงใช้แนวตามเดิม เพียงแต่เพิ่มรายละเอียดเพื่อให้เข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังตัวอย่างข้างต้น
1.พระชุดเบญจภาคี
2.พระชุดเนื้อดิน
-พระเนื้อดินยอดนิยม
-พระเนื้อดินทั่วไป
3.พระชุดเนื้อชิน
-พระเนื้อชินชุดยอดขุนพล
-พระเนื้อชินทั่วไป
จะเห็นได้ว่าจำแนกพระมีความละเอียดชัดเจนมากขึ้น เข้าใจง่ายมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น